การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมลูกหนี้และรายได้
การเตรียมข้อมูลและการออกแบบรหัส
การออกแบบรหัสในโปรแกรมลูกหนี้ฯ จะใช้วิธีการเดียวกันกับโปรแกรมเจ้าหนี้ฯ โดยเราจะใช้ “รหัส” แทนชื่อลูกหนี้หรือลูกค้า เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยการออกแบบรหัสลูกหนี้ที่ดีนั้น ควรจะมีคุณสมบัติดังนี้
-
รหัสทั้งหมดจะต้องมีความยาวเท่ากัน
-
รหัสทั้งหมดควรจะใช้เป็นแบบตัวเลข แต่เพื่อความสะดวกในการแยกแยะกลุ่มลูกค้า อาจจะนำด้วยตัวอักษรมาประกอบ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น
-
สามารถรองรับการเพิ่มเติมของรหัสในกลุ่มหมวดหมู่นั้นๆ ได้
-
การสร้างรหัส จะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์แบบเดียวกันทั้งหมด
-
สำหรับโปรแกรม EASY-ACC รหัสลูกหนี้มีได้สูงสุด 10 หลัก
ตัวอย่าง ชื่อของร้านค้าต่อไปนี้ จะใช้ตัวอักษรแรกของชื่อร้านค้ามาเป็นหลัก แล้วตามด้วยเลขลำดับ ในกรณีที่ตัวอักษรแรกซ้ำกัน โดยเลขลำดับจะใช้ทั้งหมด 4 หลัก เช่น
ห้างหุ้นส่วนจำกัด แชมป์ตู้ปลา = ห0001
บริษัท เจริญพาณิชย์ จำกัด = จ0002
บริษัท สามัคคีเทรดดิ้ง จำกัด = ส0001
บริษัท สามกิจเจริญ จำกัด = ส0002
หรือใช้เป็นภาษาอังกฤษนำหน้า เช่น
บริษัท เคทีที จำกัด = K002
จากวิธีการข้างต้น เราสามารถกำหนดจำนวนรหัสในแต่ละกลุ่มได้ถึง 10000 รหัส นอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงได้อีกหลายวิธี อาทิเช่น นำหน้าด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ นำหน้าด้วยตัวอักษรแบ่งตามภาคของผู้ขาย เป็นต้น
การเตรียมข้อมูล
ในโปรแกรมลูกหนี้ข้อมูลที่จะต้องนำมาจัดเตรียมไว้ คือ ใบกำกับหรือรายการที่ลูกค้า หรือ ลูกหนี้ยังค้างชำระกับกิจการอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้รวมไปถึงลูกหนี้เงินกู้ด้วย รายละเอียดที่ต้องจัดเตรียมมีดังนี้
ข้อมูลของใบกำกับ
-
ให้นำใบกำกับที่ลูกค้ายังค้างชำระอยู่มาจัดเตรียมไว้ โดยแยกเป็นกลุ่มของใบกำกับของลูกค้าแต่ละราย
-
ตรวจสอบรายการเช็ครับล่วงหน้าที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงิน ว่ามีเช็คของลูกค้าคนใดบ้าง จำนวนเงินเท่าไหร่ ชำระตามใบกำกับเลขที่อะไร และรายละเอียดต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในเช็ค ได้แก่ วันที่สั่งจ่าย จำนวนเงิน เลขที่เช็ค ชื่อธนาคาร และสาขา
-
กรอกรายการทั้งหมดลงในแบบฟอร์มที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
-
เมื่อดำเนินการมาถึงขั้นนี้แล้ว การเตรียมข้อมูลในขั้นเบื้องต้นของท่านได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว