หน้าแรก Support | EASY-ACC Knowledge Base   

คำแนะนำในการออกแบบรหัสสินค้า

 

วิธีการเริ่มต้นออกแบบรหัสสินค้า

 
ในระบบคอมพิวเตอร์ หากจะใช้ชื่อสินค้าโดยตรงเพื่อเรียกใช้งาน จะไม่สะดวกนัก อีกทั้งการลำดับสินค้าที่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ย่อมทำให้เกิดความสับสน เพื่อให้เกิดความสะดวกชื่อของสินค้าต่างๆ จึงมักนิยมที่จะใช้ ”รหัสสินค้า” แทนชื่อของสินค้านั้นๆ โดยการกำหนดรหัสสินค้าจะต้องมีลักษณะดังนี้ :
 
  1. สามารถแสดงคุณสมบัติของสินค้าที่ต้องการได้อย่างเด่นชัด เช่น จากบริษัทผู้ผลิต, ขนาดของสินค้า, ลักษณะของสินค้า เป็นต้น
  2. รหัสที่ออกแบบ จะต้องสามารถรองรับสินค้าใหม่ๆ ที่จะเพิ่มเติมได้ในอนาคต โดยรหัสจะอยุ่ในกลุ่มของสินค้าเดิมที่เคยมีมาอยู่ก่อนแล้ว
  3. ควรใช้ตัวเลขในการออกแบบรหัส เนื่องจากสามารถที่จะทราบถึงการเรียงลำดับของสินค้าได้อย่างชัดเจน และสินค้าทุกตัวจะต้องมีความยาวของรหัสเท่ากันทั้งหมด
  4. สำหรับการออกแบบรหัสสินค้าในโปรแกรม EASY-ACC รหัสสินค้า จะต้องมีความยาวไม่เกิน 13 หลัก
  5. การออกแบบรหัส จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำรหัสสินค้าของผู้ผลิตมาใช้ในกิจการ เพราะรหัสดังกล่าว อาจจะเป็นรหัสที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตฝ่ายเดียวเท่านั้น หากนำรหัสนั้นมาใช้งาน บางครั้งอาจเกิดปัญหาในกรณีไปซ้ำกับผู้ผลิตรายอื่น
 

ตัวอย่าง

 
บริษัท เจริญดีการค้า จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต์หลายยี่ห้อ การออกแบบรหัส มีจุดประสงค์ที่จะให้จัดแบ่งรหัสสินค้าตามยี่ห้อรถ, รุ่น, ส่วนประกอบต่างๆ เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้ว จึงนำมาออกแบบรหัสดังนี้
 
 
ยี่ห้อรถยนต์
 
01 โตโยต้า
02 นิสสัน
03 มิซูบิชิ
 
รุ่นของรถยนต์
 
 
ชื่ออะไหล่
 
 
ลักษณะของอะไหล่
 
00 ไม่ระบุ
01 ข้างซ้าย
02 ข้างขวา
 
จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่า รหัสได้ถูกกำหนดอย่างลงตัว และเมื่อทำการแจกแจงรายละเอียดของรหัสแต่ละกลุ่มแล้ว เราก็นำรหัสเหล่านั้นมารวมกัน เช่น
 
0100278000101 หมายความว่า เบรคหน้าข้างซ้ายของรถยนต์โตโยต้าโคโลน่าปี 78
0320190100100 หมายความว่า ไส้กรองน้ำมันเครื่องของรถมิซูบิชิแชมป์ปี 90
 
การออกแบบรหัสในลักษณะนี้จะเรียงตามยี่ห้อรถเป็นหลัก หากต้องการเรียงตามปีรถก็เพียงแต่เอาปี คศ.ของรถมาไว้ข้างหน้าแทน และรหัสที่ออกแบบนั้นก็สามารถรองรับชนิดของอะไหล่ได้สูงถึง 10000 ชนิดของแต่ละยี่ห้อ ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งาน