บัญชีประเภทปรับยอดรายการ คืออะไร แล้วจะใช้เมื่อใด ดังตัวอย่าง :
15 = ปรับยอดสินทรัพย์
18= ปรับยอดรายได้
19= ปรับยอดค่าใช้จ่าย
การกำหนดเลขที่บัญชีประเภทปรับยอดต่างๆ
บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมต่างๆ จะต้องกำหนดเลขที่บัญชีปรับยอดสินทรัพย์นั้นให้อยู่ถัดจากเลขที่บัญชีหลัก เช่น บัญชีเครื่องใช้สำนักงาน คือ 1135 ดังนั้น บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-เครื่องใช้สำนักงาน ซึ่งเป็นบัญชีประเภทปรับยอดสินทรัพย์ จะต้องเป็นเลขที่บัญชีที่อยู่ถัดไป ซึ่งอาจกำหนดเป็น 1135.1 ก็ได้ เพราะในการออกงบการเงินนั้น โปรแกรมจะนำบัญชีปรับยอดนั้นไปปรับยอดบัญชีที่อยู่ก่อนหน้าตัวมันเอง
หมายเหตุ :
ในกรณีที่บัญชีตัวใดมีบัญชีปรับยอดมากกว่า 1 ตัว เช่น บัญชีขายสินค้า จะมีบัญชีรับคืนและบัญชีส่วนลดจ่ายเป็นบัญชีประเภทปรับยอดรายได้ (ปรับยอดบัญชีขายสินค้า) ให้กำหนดเลขที่บัญชีเรียงต่อกัน เช่น เลขที่บัญชีขายสินค้า คือ 4101 กำหนดเลขที่บัญชีรับคืนเป็น 4101.1 และกำหนดเลขที่บัญชีส่วนลดจ่ายเป็น 401.2 (บัญชีปรับยอดนั้นจะปรับยอดบัญชีหลักที่อยู่ก่อนหน้าตัวมันเอง โดยไม่สนใจบัญชีปรับยอดด้วยกัน)
ส่วนบัญชีปรับยอดค่าใช้จ่าย ให้กำหนดเหมือนกับบัญชีปรับยอดรายได้ เช่น บัญชีซื้อสินค้า จะมีบัญชีส่งคืนและส่วนลดรับเป็นประเภทปรับยอดค่าใช้จ่าย (ปรับยอดบัญชีซื้อสินค้า) ก็ให้กำหนดเลขที่บัญชีเรียงต่อกัน เช่น เลขที่บัญชีซื้อสินค้า คือ 501 กำหนดเลขที่บัญชีส่งคืนเป็น 5101.1 และกำหนดเลขที่บัญชีส่วนลดรับเป็น 5101.2